1
สินค้า บริการอื่น ๆ / ตอบทุกข้อสงสัย เรื่องที่คุณไม่รู้ในโรคตับอักเสบ
« เมื่อ: วันนี้ เวลา 10:11 pm »
ตอบทุกข้อสงสัย เรื่องที่คุณไม่รู้ในโรคตับอักเสบ
โรคตับอักเสบ
ตับ มีหน้าที่สร้างน้ำดี และโปรตีนสำคัญหลายชนิดที่ช่วยในการแข็งตัวของเลือด รวมถึงการกำจัดสารพิษ ย่อยสลายไขมัน เก็บสะสมวิตามิน เกลือแร่ และธาตุเหล็ก รวมทั้งกักเก็บพลังงานไว้ในรูปแบบของน้ำตาล ซึ่งหากเราละเลยการดูแลสุขภาพตับของเรา เช่น ดื่มแอลกอฮอล์ในปริมาณมาก รับประทานอาหารมีไขมันสูง การรับประทานยาหรืออาหารเสริมติดต่อกันเป็นเวลานาน หรือสูบบุหรี่ ก็อาจทำให้เสี่ยงที่จะเกิดโรคตับอักเสบได้
ถึงแม้ปัจจุบันจะมีช่องทางในการติดตามข้อมูลข่าวสารที่มากขึ้น แต่คนส่วนใหญ่ยังคงมีความเชื่อผิดๆ เกี่ยวกับโรคตับอักเสบอยู่ เราจึงได้รวบรวมคำถามยอดฮิตที่คนส่วนใหญ่อยากรู้เกี่ยวกับโรคตับอักเสบมาให้ทุกคนได้ทราบกัน
Q: ภาวะตับอักเสบเกิดขึ้นจากสาเหตุใด
A: ภาวะตับอักเสบเกิดจากหลายสาเหตุ และการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบก็เป็นสาเหตุหลัก อย่างหนึ่ง โดยภาวะตับอักเสบคือ ภาวะที่เซลล์ตับเกิดความผิดปกติ แล้วส่งผลให้การทำหน้าที่ต่างๆ ภายในตับเกิดความผิดปกติ มีทั้งแบบเฉียบพลันและเรื้อรัง หรือแบบแสดงอาการและไม่แสดงอาการ หากการอักเสบของตับไม่หายและกลายเป็นตับอักเสบระยะเรื้อรัง จะเกิดพังผืดหรือแผลเป็นในเนื้อตับ จนกลายเป็นภาวะตับแข็งและเพิ่มความเสี่ยงการเกิดมะเร็งตับ
Q: ตับอักเสบติดต่อได้ง่ายจริงหรือไม่
A: การติดต่อของไวรัสตับอักเสบมีได้จากหลายสาเหตุขึ้นอยู่กับชนิดของไวรัสตับอักเสบดังนี้
ไวรัสตับอักเสบเอ และอี สามารถติดต่อได้โดยผ่านทางอาหารหรือน้ำที่ปนเปื้อนเชื้อโรค
ไวรัสตับอักเสบบี และซี สามารถติดต่อได้ผ่านทางเลือด โดยการใช้เข็มฉีดยาร่วมกัน การล้างไต เจาะหู สัก การใช้ใบมีดโกน รวมถึงการมีเพศสัมพันธ์และจากมารดาสู่บุตร
ไวรัสตับอักเสบดี เป็นไวรัสไม่สามารถเพิ่มจำนวนได้ด้วยตัวเอง ต้องอาศัยโปรตีนของไวรัสตับอักเสบปี ในการเข้าสู่เซลล์ตับ ดังนั้นการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบดี จึงเกิดเฉพาะในผู้ที่ติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบีเท่านั้น การติดต่อจึงเกิดขึ้นผ่านทางเลือด โดยการใช้เข็มฉีดยาร่วมกัน การล้างไต เจาะหู สัก การใช้ใบมีดโกน รวมถึงการมีเพศสัมพันธ์ เช่นเดียวกันกับไวรัสตับอักเสบ บี
Q: จะทราบได้อย่างไรว่าเป็นโรคตับอักเสบ
A: ในตอนแรกผู้ที่ติดเชื้อไวรัสตับอักสบจะไม่แสดงอาการใดๆ ออกมา แต่เมื่อมีการอักเสบที่ตับมากขึ้น ผู้ติดเชื้อจะมีอาการปวดเมื่อยตามตัว เบื่ออาหาร อ่อนเพลีย มีไข้ต่ำ คลื่นไส้อาเจียน เหนื่อยง่าย ตัวเหลือง ตาเหลือง หรือ ภาวะดีซ่าน นอกจากการสังเกตอาการดังกล้าวเบื้องต้นแล้ว ยังสามารถวินิจฉัยได้โดยการตรวจเลือดเพื่อหาค่าการทำงานของตับ รวมถึงการตรวจไขมันพอกดับและพังพืดในเนื้อตับด้วยเครื่องไฟโบรสแกน (Fibroscan)
Q: ตับอักเสบรักษาหายได้หรือไม่ และสามารถหายเองได้ไหม
A: โรคตับอักเสบมีด้วยกันสองประเภท คือ ภาวะเฉียบพลัน และภาวะเรื้อรัง โดยผู้ที่ติดเชื้อไวรัสตับอักเสบเอ และอี ส่วนใหญ่จะสามารถหายได้เองและร่างกายจะสร้างภูมิคุ้มกันโรคเพื่อไม่ให้เป็นซ้ำอีก และไม่กลายเป็นตับอักเสบเรื้อรัง แต่ไวรัสตับอักเสบอีนั้น มีแนวโน้มที่จะรุนแรงขึ้นได้ โดยเฉพาะในหญิงที่ตั้งครรภ์และผู้ป่วยภูมิต้านทานต่ำอาจทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนรุนแรง จนอาจแท้งบุตรและเสียชีวิตได้
ส่วนผู้ที่ติดไวรัสตับอักเสบบีนั้น หากติดเชื้อในผู้ใหญ่มีโอกาส 90% ที่จะหายขาด และมีเพียง 5-10% ที่จะกลายเป็นตับอักเสบเรื้อรัง ซึ่งอาจต้องทำการรักษา และรับประทานยาตามที่แพทย์สั่งอย่างต่อเนื่อง และผู้ติดเชื้อไวรัสตับอักเสบซีในวัยผู้ใหญ่นั้น มีโอกาสสูงมากถึง 85% ที่จะกลายเป็นตับอักเสบเรื้อรัง แต่ก็มียาต้านเชื้อไวรัสตับอักเสบซีชนิดรับประทานที่ได้ผลดี และสามารถรักษาจนหายขาดได้
Q: ตับอักเสบทำให้เป็นมะเร็งตับไหม
A: มะเร็งตับ เป็นมะเร็งที่พบมากเป็นอันดับหนึ่งในชายไทย โดยมักพบในคนอายุ 30-70 ซึ่งมีสาเหตุหลักมาจากเชื้อไวรัสตับอักเสบบีและซี เมื่อตัวเชื้อไวรัสเข้าไปอยู่ในเซลล์ตับก็สามารถกลายเป็นตับอักเสบเรื้อรัง และหากปล่อยไว้นานเซลล์ตับที่ติดเชื้อนั้นจะทำให้เกิดภาวะตับแข็งและมะเร็งตับในที่สุด
ผู้ที่มีความเสี่ยงในการเป็นมะเร็งตับ ได้แก่ ผู้ที่เป็นโรคไวรัสตับอักเสบบี และซีในระยะเรื้อรังที่มีภาวะตับแข็งจากสาเหตุใดๆ ก็ตาม ผู้ที่มีญาติ หรือคนในครอบครัวเป็นโรคตับหรือมะเร็งตับ ผู้ที่มีภาวะเหล็กเกินในร่างกาย (Hemochromatosis) เด็กทารกแรกเกิดที่การเผาผลาญล้มเหลวเฉียบพลัน (tyrosinemia) รวมทั้งคนที่รับประทานถั่วบดทิ้งค้าง หรือพริกปนเก่า ที่มีเชื้อราชนิดอัลฟาร์ทอกซินปะปน ยังมีโอกาสเป็น มะเร็งตับได้ง่ายขึ้น
Q: ตับอักเสบป้องกันได้อย่างไร
A: เราสามารถป้องกันและลดความเสี่ยงการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบ โดยการหลีกเสี่ยงพฤติกรรมเสี่ยง ได้แก่ การเจาะสักผิวหนัง การใช้ของมีคมร่วมกับผู้อื่น หรือการมีเพศสัมพันธ์โดยไม่สวมถุงยางอนามัยป้องกัน
ในหญิงตั้งครรภ์ที่มีการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบีนั้น ควรปรึกษาแพทย์เพื่อประเมินภาวะตับอักเสบว่าควรรับยาต้านเชื้อไวรัสหรือไม่ เพื่อลดโอกาสในการติดเชื้อจากแม่สู่ลูกและทารกก็ควรได้รับการฉีดวัคซีนตั้งแต่แรกคลอดเพื่อป้องกันการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบี สำหรับบุคคลทั่วไปนั้นเราสามารถป้องกันได้โดยการฉีดวัคซีนป้องกันไวรัสตับอักเสบบีเพียง 3 เข็ม ก็สามารถป้องกันการเกิดไวรัสตับอักเสบบีได้ตลอดชีวิต
โรคตับอักเสบสามารถเกิดได้จากหลายสาเหตุ ฉะนั้นควรได้รับการตรวจสุขภาพเป็นประจำทุกปี โดยเฉพาะสุขภาพตับในผู้ที่มีความเสี่ยง ซึ่งหากพบตั้งแต่เนิ่นๆ สามารถหาแนวทางการรักษา เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดภาวะตับอักเสบรุนแรง ตับอักเสบเรื้อรัง และร้ายแรงจนพัฒนาไปเป็นโรคตับแข็ง และมะเร็งตับ ตามมาได้
โรคตับอักเสบ
ตับ มีหน้าที่สร้างน้ำดี และโปรตีนสำคัญหลายชนิดที่ช่วยในการแข็งตัวของเลือด รวมถึงการกำจัดสารพิษ ย่อยสลายไขมัน เก็บสะสมวิตามิน เกลือแร่ และธาตุเหล็ก รวมทั้งกักเก็บพลังงานไว้ในรูปแบบของน้ำตาล ซึ่งหากเราละเลยการดูแลสุขภาพตับของเรา เช่น ดื่มแอลกอฮอล์ในปริมาณมาก รับประทานอาหารมีไขมันสูง การรับประทานยาหรืออาหารเสริมติดต่อกันเป็นเวลานาน หรือสูบบุหรี่ ก็อาจทำให้เสี่ยงที่จะเกิดโรคตับอักเสบได้
ถึงแม้ปัจจุบันจะมีช่องทางในการติดตามข้อมูลข่าวสารที่มากขึ้น แต่คนส่วนใหญ่ยังคงมีความเชื่อผิดๆ เกี่ยวกับโรคตับอักเสบอยู่ เราจึงได้รวบรวมคำถามยอดฮิตที่คนส่วนใหญ่อยากรู้เกี่ยวกับโรคตับอักเสบมาให้ทุกคนได้ทราบกัน
Q: ภาวะตับอักเสบเกิดขึ้นจากสาเหตุใด
A: ภาวะตับอักเสบเกิดจากหลายสาเหตุ และการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบก็เป็นสาเหตุหลัก อย่างหนึ่ง โดยภาวะตับอักเสบคือ ภาวะที่เซลล์ตับเกิดความผิดปกติ แล้วส่งผลให้การทำหน้าที่ต่างๆ ภายในตับเกิดความผิดปกติ มีทั้งแบบเฉียบพลันและเรื้อรัง หรือแบบแสดงอาการและไม่แสดงอาการ หากการอักเสบของตับไม่หายและกลายเป็นตับอักเสบระยะเรื้อรัง จะเกิดพังผืดหรือแผลเป็นในเนื้อตับ จนกลายเป็นภาวะตับแข็งและเพิ่มความเสี่ยงการเกิดมะเร็งตับ
Q: ตับอักเสบติดต่อได้ง่ายจริงหรือไม่
A: การติดต่อของไวรัสตับอักเสบมีได้จากหลายสาเหตุขึ้นอยู่กับชนิดของไวรัสตับอักเสบดังนี้
ไวรัสตับอักเสบเอ และอี สามารถติดต่อได้โดยผ่านทางอาหารหรือน้ำที่ปนเปื้อนเชื้อโรค
ไวรัสตับอักเสบบี และซี สามารถติดต่อได้ผ่านทางเลือด โดยการใช้เข็มฉีดยาร่วมกัน การล้างไต เจาะหู สัก การใช้ใบมีดโกน รวมถึงการมีเพศสัมพันธ์และจากมารดาสู่บุตร
ไวรัสตับอักเสบดี เป็นไวรัสไม่สามารถเพิ่มจำนวนได้ด้วยตัวเอง ต้องอาศัยโปรตีนของไวรัสตับอักเสบปี ในการเข้าสู่เซลล์ตับ ดังนั้นการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบดี จึงเกิดเฉพาะในผู้ที่ติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบีเท่านั้น การติดต่อจึงเกิดขึ้นผ่านทางเลือด โดยการใช้เข็มฉีดยาร่วมกัน การล้างไต เจาะหู สัก การใช้ใบมีดโกน รวมถึงการมีเพศสัมพันธ์ เช่นเดียวกันกับไวรัสตับอักเสบ บี
Q: จะทราบได้อย่างไรว่าเป็นโรคตับอักเสบ
A: ในตอนแรกผู้ที่ติดเชื้อไวรัสตับอักสบจะไม่แสดงอาการใดๆ ออกมา แต่เมื่อมีการอักเสบที่ตับมากขึ้น ผู้ติดเชื้อจะมีอาการปวดเมื่อยตามตัว เบื่ออาหาร อ่อนเพลีย มีไข้ต่ำ คลื่นไส้อาเจียน เหนื่อยง่าย ตัวเหลือง ตาเหลือง หรือ ภาวะดีซ่าน นอกจากการสังเกตอาการดังกล้าวเบื้องต้นแล้ว ยังสามารถวินิจฉัยได้โดยการตรวจเลือดเพื่อหาค่าการทำงานของตับ รวมถึงการตรวจไขมันพอกดับและพังพืดในเนื้อตับด้วยเครื่องไฟโบรสแกน (Fibroscan)
Q: ตับอักเสบรักษาหายได้หรือไม่ และสามารถหายเองได้ไหม
A: โรคตับอักเสบมีด้วยกันสองประเภท คือ ภาวะเฉียบพลัน และภาวะเรื้อรัง โดยผู้ที่ติดเชื้อไวรัสตับอักเสบเอ และอี ส่วนใหญ่จะสามารถหายได้เองและร่างกายจะสร้างภูมิคุ้มกันโรคเพื่อไม่ให้เป็นซ้ำอีก และไม่กลายเป็นตับอักเสบเรื้อรัง แต่ไวรัสตับอักเสบอีนั้น มีแนวโน้มที่จะรุนแรงขึ้นได้ โดยเฉพาะในหญิงที่ตั้งครรภ์และผู้ป่วยภูมิต้านทานต่ำอาจทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนรุนแรง จนอาจแท้งบุตรและเสียชีวิตได้
ส่วนผู้ที่ติดไวรัสตับอักเสบบีนั้น หากติดเชื้อในผู้ใหญ่มีโอกาส 90% ที่จะหายขาด และมีเพียง 5-10% ที่จะกลายเป็นตับอักเสบเรื้อรัง ซึ่งอาจต้องทำการรักษา และรับประทานยาตามที่แพทย์สั่งอย่างต่อเนื่อง และผู้ติดเชื้อไวรัสตับอักเสบซีในวัยผู้ใหญ่นั้น มีโอกาสสูงมากถึง 85% ที่จะกลายเป็นตับอักเสบเรื้อรัง แต่ก็มียาต้านเชื้อไวรัสตับอักเสบซีชนิดรับประทานที่ได้ผลดี และสามารถรักษาจนหายขาดได้
Q: ตับอักเสบทำให้เป็นมะเร็งตับไหม
A: มะเร็งตับ เป็นมะเร็งที่พบมากเป็นอันดับหนึ่งในชายไทย โดยมักพบในคนอายุ 30-70 ซึ่งมีสาเหตุหลักมาจากเชื้อไวรัสตับอักเสบบีและซี เมื่อตัวเชื้อไวรัสเข้าไปอยู่ในเซลล์ตับก็สามารถกลายเป็นตับอักเสบเรื้อรัง และหากปล่อยไว้นานเซลล์ตับที่ติดเชื้อนั้นจะทำให้เกิดภาวะตับแข็งและมะเร็งตับในที่สุด
ผู้ที่มีความเสี่ยงในการเป็นมะเร็งตับ ได้แก่ ผู้ที่เป็นโรคไวรัสตับอักเสบบี และซีในระยะเรื้อรังที่มีภาวะตับแข็งจากสาเหตุใดๆ ก็ตาม ผู้ที่มีญาติ หรือคนในครอบครัวเป็นโรคตับหรือมะเร็งตับ ผู้ที่มีภาวะเหล็กเกินในร่างกาย (Hemochromatosis) เด็กทารกแรกเกิดที่การเผาผลาญล้มเหลวเฉียบพลัน (tyrosinemia) รวมทั้งคนที่รับประทานถั่วบดทิ้งค้าง หรือพริกปนเก่า ที่มีเชื้อราชนิดอัลฟาร์ทอกซินปะปน ยังมีโอกาสเป็น มะเร็งตับได้ง่ายขึ้น
Q: ตับอักเสบป้องกันได้อย่างไร
A: เราสามารถป้องกันและลดความเสี่ยงการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบ โดยการหลีกเสี่ยงพฤติกรรมเสี่ยง ได้แก่ การเจาะสักผิวหนัง การใช้ของมีคมร่วมกับผู้อื่น หรือการมีเพศสัมพันธ์โดยไม่สวมถุงยางอนามัยป้องกัน
ในหญิงตั้งครรภ์ที่มีการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบีนั้น ควรปรึกษาแพทย์เพื่อประเมินภาวะตับอักเสบว่าควรรับยาต้านเชื้อไวรัสหรือไม่ เพื่อลดโอกาสในการติดเชื้อจากแม่สู่ลูกและทารกก็ควรได้รับการฉีดวัคซีนตั้งแต่แรกคลอดเพื่อป้องกันการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบี สำหรับบุคคลทั่วไปนั้นเราสามารถป้องกันได้โดยการฉีดวัคซีนป้องกันไวรัสตับอักเสบบีเพียง 3 เข็ม ก็สามารถป้องกันการเกิดไวรัสตับอักเสบบีได้ตลอดชีวิต
โรคตับอักเสบสามารถเกิดได้จากหลายสาเหตุ ฉะนั้นควรได้รับการตรวจสุขภาพเป็นประจำทุกปี โดยเฉพาะสุขภาพตับในผู้ที่มีความเสี่ยง ซึ่งหากพบตั้งแต่เนิ่นๆ สามารถหาแนวทางการรักษา เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดภาวะตับอักเสบรุนแรง ตับอักเสบเรื้อรัง และร้ายแรงจนพัฒนาไปเป็นโรคตับแข็ง และมะเร็งตับ ตามมาได้