เสียงดัง ถือเป็นภัยใกล้ตัวที่คนส่วนใหญ่คาดไม่ถึง โดยเฉพาะบุคคลที่ทำงานโรงงาน หรือพนักงานที่ทำงานในโรงงานอุตสาหกรรมและต้องสัมผัสกับเสียงดังจากเครื่องจักรตลอดเวลา โดยที่ไม่ได้ป้องกันอันตราย อาจเป็นเพราะคิดว่า เรื่องเสียงเป็นเรื่องที่ไม่สำคัญ ไม่ต้องสนใจก็ได้ แต่ในความเป็นจริงแล้ว มลพิษทางเสียงถือเป็นสิ่งที่ต้องระวังเป็นอย่างมาก เพราะหูนั้นมีความสำคัญ เนื่องจากเราต้องใช้หูในการรับฟังเสียงเพื่อสื่อสารกับคนอื่น ๆ หากอยู่ในที่ ๆ มีมลพิษทางเสียงเป็นเวลานานจนทำให้เกิดผลกระทบต่อระบบการได้ยิน จะทำให้ประสิทธิภาพในการใช้ชีวิตของเราลดลงเป็นอย่างมาก แล้วเสียงดังแค่ไหนถึงเรียกว่าอันตราย และจะสามารถป้องกันได้อย่างไร
จะทราบได้อย่างไรว่า ระดับเสียงดังแค่ไหน ถึงเรียกว่าอันตราย
ในประเทศไทยมีการกำหนดมาตรฐานของระดับเสียง โดยประกาศกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน เรื่อง มาตรฐานระดับเสียงที่ยอมให้ลูกจ้างได้รับเฉลี่ยตลอดระยะเวลาการทำงานในแต่ละวัน กำหนดไว้ว่า ระดับเสียงที่ยอมให้ลูกจ้างได้รับเฉลี่ยตลอดระยะเวลาการทำงาน 8 ชั่วโมง (TWA8) ต้องไม่เกิน 85 dBA หรือ 90 dBA ในการทำงาน 2 ชั่วโมง 31 นาทีต่อวัน ตามประกาศ ซึ่งบุคคลที่ทำงานอยู่ในสภาพแวดล้อมที่เป็นมลพิษทางเสียง มีโอกาสเสี่ยงต่อการสูญเสียสมรรถภาพทางการได้ยินสูง ดังนั้น ต้องสวมใส่อุปกรณ์ป้องกันเสียงเอาไว้ตลอดเวลา แต่ในบางอุตสาหกรรมการสวมใส่อุปกรณ์ป้องกันนั้น อาจไม่เพียงพอ จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องใช้วัสดุดูดซับเสียง แผ่นกันเสียง หรืออุปกรณ์ลดทอนเสียงคุณภาพสูง เพื่อป้องกันอันตรายที่จะเกิดขึ้นกับหูและร่างกายในระยะยาวได้
เราจะควบคุมเสียงอย่างไร ให้ได้ผลดีที่สุด
แนวทางในการควบคุมเสียงที่ดีที่สุด คือ การควบคุมเสียงที่แหล่งกำเนิดเสียง ด้วยวิธีการทางวิศวกรรม โดยการใช้วัสดุหรืออุปกรณ์ควบคุมเสียงที่นิยมใช้ ได้แก่ วัสดุดูดซับเสียง แผ่นกันเสียง ไซเลนเซอร์ และอุปกรณ์แยกการสั่นสะเทือน เป็นต้น วัสดุดูดซับเสียง จะเปลี่ยนพลังงานของเสียงที่มาตกกระทบให้เป็นพลังงานความร้อน ทำให้ระดับเสียงลดลง วัสดุที่มีค่า STC 40 ขึ้นไป จะถือว่ามีคุณสมบัติในการกันเสียงได้ดี สำหรับแผ่นกันเสียงที่จะนำมาใช้ลดทอนไม่ให้เสียงผ่านไปได้ ต้องมีความหนาแน่นสูง ไม่มีรูพรุน กลไกการทำงานคือ สะท้อนเสียงกลับไปยังทิศทางเดินของเสียง พลังงานเสียงที่ลดลงไปจะวัดเป็นค่า Transmission Loss (TL) แผ่นกันเสียงใดที่มีค่า TL สูง หมายความว่าแผ่นกั้นเสียงนั้นสามารถกันเสียงหรือสะท้อนเสียงได้ดีมาก
จากข้อมูลมลพิษทางเสียงที่ก่อให้เกิดอันตราย จะเห็นได้ว่าเราควรให้ความสำคัญในเรื่องเสียงมากขึ้น เพราะนอกจากการรับสัมผัสเสียงดังอย่างต่อเนื่องและยาวนานจะถือเป็นอันตรายต่อระบบการได้ยินแล้ว ยังส่งผลกระทบต่อสุขภาพจิตของผู้รับเสียงด้วย หากต้องการคำแนะนำเกี่ยวกับการควบคุมเสียงในอุตสาหกรรม สามารถปรึกษาผู้เชี่ยวชาญด้านการควบคุมมลพิษเสียงและความสั่นสะเทือนของเราได้
ฉนวนกันเสียง: เสียงดังเท่าไหร่ ถึงกลายเป็นมลพิษทางเสียง อ่านบทความเพิ่มเติมคลิ๊กที่นี่ https://noisecontrol365.com/