“ปัญหาเสียงดังโรงงาน” คือหนึ่งในปัญหาใหญ่ที่สุดสำหรับผู้ประกอบการโรงงานอุตสาหกรรมทุกคน เพราะไม่เพียงแต่สร้างความรำคาญ รบกวนประสิทธิภาพในการทำงานเท่านั้น เสียงดังที่มากจนรบกวนชุมชนใกล้เคียงยังอาจนำมาซึ่งการฟ้องร้องที่ทำให้โรงงานได้รับผลกระทบตามกฎหมายได้
ดังนั้น การแก้ไข ปัญหาเสียงดังโรงงาน จึงเป็นเรื่องเร่งด่วนที่รอไม่ได้ เพราะหากยังไม่เคยมีการควบคุมเสียงดังให้เป็นไปตามเกณฑ์ที่กฎหมายกำหนด หากถูกตรวจสอบขึ้นมาวันใด ก็จะไม่สามารถแก้ไขอะไรได้เลย แต่อย่างไรก็ตาม การจะแก้ไข ปัญหาเสียงดังโรงงาน ก็ไม่ใช่เรื่องที่จะเร่งรีบได้ เพราะเป็นการลงทุนที่ใช้งบประมาณไม่น้อย และยังต้องให้ได้ผลลัพธ์ที่ถูกต้องตามกฎหมายด้วย โดยหัวใจสำคัญของการแก้ไขปัญหาเสียงดังโรงงาน ที่จำเป็นต้องเข้าใจก่อนตัดสินใจลงทุนนั้น มีดังต่อไปนี้
1.ต้องมีการวัดระดับเสียงดังหน้างาน
ผู้ประกอบการโรงงานจะแก้ไขปัญหาเสียงดังโรงงานให้ได้ผล เป็นไปตามที่กฎหมายกำหนดได้อย่างเหมาะสมนั้น ก็ต่อเมื่อต้องรู้ว่า ระดับเสียงดังที่เป็นปัญหาภายในโรงงานมีค่าเท่าไร เพราะกฎหมายกำหนดเป็นตัวเลขชัดเจนว่า ในพื้นที่ทำงานที่พนักงานปฏิบัติหน้าที่ จะต้องมีเสียงดังไม่เกิน 85 เดซิเบล ในขณะที่ระดับเสียงดังสูงสุดที่เกิดจากการกิจกรรมในโรงงานนั้นจะต้องไม่เกิน 115 เดซิเบล
ดังนั้น ก่อนจะตัดสินใจติดตั้งระบบแก้ไขปัญหาเสียงดังใด ๆ ก็แล้วแต่จะต้องมีการลงพื้นที่สำรวจหน้างานจริง และมีการวัดระดับความดังของเสียงให้ชัดเจนถูกต้อง เพื่อให้สามารถวางแผนในการตั้งเป้าหมายของการแก้ไขปัญหาเสียงดังได้อย่างมีประสิทธิภาพ เช่น หากวัดค่าความดังของเสียงแล้วได้ 98 เดซิเบล เป้าหมายที่ต้องทำก็คือต้องทำให้พื้นที่การทำงานภายในโรงงาน มีระดับเสียงดังต่ำกว่าหรือเท่ากับ 85 เดซิเบลให้ได้จึงจะถูกต้องตามกฎหมาย
2.วัสดุอะคูสติกต้องมีคุณภาพ
เมื่อวัดระดับเสียงดังเรียบร้อยแล้ว ก็จะทำให้ทราบว่าต้องใช้วัสดุอะคูสติก หรือ “แผ่นกันเสียง” ปริมาณเท่าไร แบบใด ที่จะเหมาะกับการแก้ไขปัญหาเสียงดังของโรงงานแต่ละที่ ซึ่งแผ่นกันเสียงในท้องตลาดนั้นก็มีหลายแบบ ทำมาจากวัสดุที่แตกต่างกัน ซึ่งแน่นอนว่าคุณภาพในการป้องกันเสียงดังทะลุเข้าออกนั้นก็แต่ต่างกันด้วย รวมถึงความหนาของตัวเนื้อฉนวนเองก็มีผลอย่างมากต่อการทำให้เสียงดังเบาลงตามที่เราต้องการ
3.ต้องติดตั้งวางแผนด้วยผู้เชี่ยวชาญโดยเฉพาะ
รูปแบบของการแก้ไขปัญหาเสียงดังในโรงงานนั้น ทำได้หลากหลายวิธีขึ้นอยู่กับสาเหตุของเสียงดังที่เกิดขึ้น เช่น ใช้แผ่นกันเสียงทำห้องครอบเครื่องจักร ด้วยวัสดุกันเสียงเพื่อไม่ให้เสียงดังจากเครื่องจักรในโรงงานดังทะลุออกมารบกวนพื้นที่การทำงานอื่น ๆ รวมถึงพื้นที่ชุมชนใกล้เคียง หรือ การเสริมผนังกันเสียงเพื่อดูดซับเสียงดังให้เบาลงด้ว ปูเสริมทับอีกชั้นไปทีผนัง สำหรับห้องออฟฟิศที่อยู่ในโซนการทำงานใกล้ห้องเครื่องจักร เพื่อให้เกิดบรรยากาศความสงบมากขึ้น เป็นต้น
จะเห็นได้ว่า ในการแก้ไขปัญหาเสียงจะต้องอาศัยการวิเคราะห์สาเหตุ และออกแบบแนวทางการแก้ปัญหาที่แตกต่างกันไปเฉพาะแต่ละโรงงาน ดังนั้น ความเชี่ยวชาญของวิศวกรเรื่องเสียงจึงเป็นสิ่งสำคัญมากเพื่อการแก้ไขที่มีประสิทธิภาพมากที่สุด
3 ประเด็นที่กล่าวมานี้ถือเป็นหัวใจสำคัญของการแก้ไขปัญหาเสียงดังโรงงานที่ผู้ประกอบการจำเป็นต้องตระหนักเอาไว้และให้ความสำคัญ เพื่อให้การลงทุนแก้ไขปัญหาเสียงดังเป็นไปอย่างราบรื่น มีประสิทธิภาพ และไม่มีปัญหาที่ทำให้ต้องสูญเสียงบประมาณตามมาเพิ่มเติมภายหลัง
ฉนวนกันเสียง: หัวใจสำคัญแก้ไขปัญหาเสียงดังโรงงาน ที่ผู้ประกอบการต้องรู้ อ่านบทความเพิ่มเติมคลิ๊กที่นี่ https://noisecontrol365.com/