ผู้เขียน หัวข้อ: ทำไมรถยนต์ไฟฟ้ามีระยะทางวิ่งจริงน้อยกว่าที่เคลมไว้  (อ่าน 141 ครั้ง)

siritidaphon

  • Sr. Member
  • ****
  • กระทู้: 391
    • ดูรายละเอียด
เคยสงสัยไหมครับ ว่ารถยนต์ไฟฟ้าล้วนที่มีการระบุระยะทางวิ่งได้ เท่านั้นเท่านี้ และมีตัวอักษรภาษาอังกฤษกำกับอีก หมายความว่าอย่างไร และเมื่อทดลองวิ่งจริง ๆ ในเงื่อนไขที่ชาร์จไฟเข้าแบตเตอรี่เต็ม 100% แต่ระยะทางที่วิ่งได้จริงนั้นยังไงก็ไม่ถึงที่ระบุไว้ อย่างมากก็แค่ใกล้เคียงเท่านั้น
 
การทดสอบระยะทางของรถยนต์ไฟฟ้านั้น เบื้องต้นแล้วจะถูกทดลองขับขี่บนถนนจริงไม่ใช่การคำนวน แต่ว่าเป็นถนนที่จัดขึ้นเพื่อทดสอบโดยเฉพาะ หรือว่ามีเงื่อนไขและปัจจัยต่าง ๆ ที่เอื้อให้รถคันนั้สามารถวิ่งได้ระยะทางยาวที่สุด อ่าวถ้างั้นก็โกหกกันสิ?
 
 
ความจริงแล้วรถยถทางในการวิ่งนั้นจะถูกควบคุมและทดสอบภายใต้การกำกับและดูของหน่วยงานรัฐฯ หรือท้องที่นั้นในแต่ละประเทศ เพื่อให้มีมาตรฐานมากที่สุดเป็นกลาง ซึ่งก็ยังขึ้นอยู่กับมตรฐานแต่ละประเภทอีก
 
มาตรฐานที่ใช้เป็นเกณฑ์ในการทดสอบระยะทางของรถยนต์ไฟฟ้าโลกนี้มีอยู่ 2 แบบคือ

NEDC (New European Driving Cycle) ซึ่งมีมาตั้งแต่ยุค 70 - 80S นานมาแล้ว เป็นของฝั่งยุโรปที่ใช้สำหรับวัดทั้งมลพิษ ระยะทาง การใช้พลังงานของรถยนต์ทุกคันที่จำหน่ายในยุโรป วิธีการวัดนั้นจะอยู่ในห้องทดลองวิ่งบนลูกกลิ้งหรือไดโนเทสนั่นเอง วิธีนี้จึงได้ระยะทางที่มาก แต่อาจไม่สมจริงเพราะแทบไม่มีสภาพแวดล้อมอื่น ๆ เลยอย่าง ลมปะทะ สภาพถนน การจรา ฯลฯ     
 
WLTP (Worldwide Harmonised Light Vehicle Test Procedure) เป็นการพัฒนาการทดสอบเพิ่มเติมมากขึ้น ให้สอดคล้องและทันสมัยมากขึ้น ซึ่งจะมาแทนที่ NEDC ในอนาคตต่อไป จึงทำให้มีระยะทางใช้งานจริงที่ใกล้เคียงมากที่สุด แต่ก็ได้ตัวเลขน้อยลง
 
 
EPA (Environmental Protection Agency) อ่าวมายังไงเนี่ย! มาตรฐานที่เพิ่มมาอีกอันเป้นของทางประเทศสหรัฐอเมริกา ซึ่งจะเป็นการทดสอบในเมือง นอกเมือง ความเร็วสูง มีลมปะทะ ฝนตก เปิดแอร์ ฯลฯ เรียกว่าเกือบจะเหมือนการใช้งานจริง ทำให้มาตรฐาน EPA นี้ตัวเลขยิ่งน้อยลงไปอีก แต่ก็เป็นค่าที่ใกล้เคียงการใช้งานจริงมากที่สุด
 
เมื่อมาใช้งานจริงลบระยะทางออกไปอีก 40 - 60 กิโลเมตร!

สำหรับการขับขี่ใช้งานทั่วไปในสภาพความเป็นจริงนั้น มีปัจจัยอีกหลายสิ่งที่มาทำให้ระยะทางของรถยนต์ไฟฟ้านั้นวิ่งได้น้อยลงไป เช่น สภาพอากาศ การจราจร น้ำหนักเท้าผู้ขับ นิสัยหรือลักษณะการขับขี่ของแต่ละคน หรือสัมภาระ ฯลฯ อีกมากมาย ยังไม่รวมความเสื่อมของแบตเตอรี่ อุณหภูมิในช่วงเวลานั้น ๆ ทั้งขณะขับขี่หรือชาร์จไฟฟ้าเข้าแบตฯ หรือบางพื้นที่มีลมแรง และบางคันมีการตกแต่งอุปกรณ์ต่าง ๆ เพิ่มเติม ล้วนมีผลในการขับขี่ทั้งหมด
 
 
จึงเห็นว่ารถยนต์ไฟฟ้าที่เคลมระยะทางวิ่งจากโรงงานเอาไว้ที่ 400 หรือ 450 กิโลเมตรนั้น เมื่อลองใช้งานจริง แม้ในขณะที่ชาร์จไฟได้ 100% แล้วก็ตามระยะทางจริงก็ไม่ถึงตามที่ระบุเอาไว้ เต้มที่ก็ใกล้เคียง 10 หรือ 20 กิโลเมตร และเมื่อเริ่มขับออกไประยะทางก็เริ่มเปลี่ยนใหม่ตามตัวแปรอื่น ๆ อีก ระยะทางที่วิ่งก้จะค่อยลดลงไปอีก สุดท้ายก้จะเหลือระยะทางที่ตรงมากที่สุด เช่น สเปคระบุ 400 กิโลเมตร ชาร์จเต้ม 100% ระยะทางบนหน้าปัดระบุ 380 กิโลเมตร แต่เมื่อขับขี่จริง อาจจะลงมาเหลือที่ 360 หรืออาจจะเพิ่มขึ้นอีกเล็กน้อย 395 กิโลเมตร ก้ย่อมได้ครับ
 
 
สรุปแล้วระยะทางในสเปคกับการใช้งานจริงนั้น ให้คิดว่าตัดลบออกไป 40 - 60 กิโลเมตรเอาไว้ก่อน เพื่อความมั่นใจและการคำนวนการใช้งาน การแวะชาร์จไฟฟ้าของเจ้าของรถได้พอดีและอย่างปลอดภัย ไม่ต้องลุ้นไม่ต้องโทรฯ หารถสไลด์ และไม่ควรใช้งานจนแบตฯ เหลือต่ำกว่า 20% บ่อย ๆ อาจเป็นเร่งให้แบตฯ เสื่อมสภาพได้เร็วขึ้นไปอีกด้วยครับ 


ทำไมรถยนต์ไฟฟ้ามีระยะทางวิ่งจริงน้อยกว่าที่เคลมไว้ อ่านบทความเพิ่มเติมคลิ๊กที่นี่ https://www.checkraka.com/car/?fuel_type=4078&quicksearch_order=306,DESC-326,ASC

 

ลงประกาศฟรี ติดอันดับ Google โฆษณาฟรี ประกาศฟรี ขายฟรี ลงประกาศขายบ้าน ขายที่ดิน ขายคอนโด ขายรถยนต์ เครื่องใช้ไฟฟ้า สินค้าอุตสาหกรรม อาหารเสริม เครื่องสำอางค์ สถานที่ท่องเที่ยว ลงโฆษณาฟรี google