ผู้เขียน หัวข้อ: รับออกแบบบ้าน: โครงหลังคาของ โครงสร้างบ้าน มีอะไรบ้าง  (อ่าน 205 ครั้ง)

siritidaphon

  • Sr. Member
  • ****
  • กระทู้: 465
    • ดูรายละเอียด
โครงหลังคา ถือเป็นส่วนประกอบสำคัญที่กำหนดรูปทรงทั้งหมดของโครงสร้างอาคาร ทำหน้าที่รองรับน้ำหนักของวัสดุมุงหลังคา เช่น กระเบื้องมุงหลังคา ให้อยู่ในลักษณะที่มั่นคงและเป็นระเบียบ ในขณะเดียวกันก็ทำหน้าที่ยึดหลังคาบ้านทั้งหมดให้เชื่อมต่อกับโครงสร้างของเสาและคานอย่างแข็งแรง

โดยโครงหลังคาที่ดีนอกจากมีการยึดเกาะอย่างแข็งแรงแล้ว ยังต้องคงทนต่อสภาพอากาศได้ดีอีกด้วย นอกจากนี้การทำโครงหลังคาต้องทำอย่างประณีต และออกแบบขนาดและระยะต่างๆ อย่างถูกต้อง เพื่อให้แนวหลังคาอยู่ในลักษณะเข้าที่เรียบร้อย โดยโครงหลังคาสามารถแบ่งได้เป็น 2 ประเภทใหญ่ๆ ตามวัสดุที่บ้านเรือนทั่วไปนิยมใช้ ดังนี้

1. โครงหลังคาไม้ ปัจจุบันอาคารและบ้านเรือนส่วนใหญ่นิยมสร้างเป็นตึกสูง เนื่องจากไม้เป็นวัสดุที่หายาก และมีราคาสูงขึ้น โดยเฉพาะไม้ที่มีคุณภาพดีและมีความแข็งแรงคงทน

ทั้งนี้สิ่งที่ทำให้โครงหลังคาไม้ไม่เป็นที่นิยมอีกอย่างคือ สามารถทำให้เกิดปัญหาเรื่องปลวก ถ้าไม่ดูแลอาจเกิดการทรุดโทรมได้ในภายหลัง ดังนั้นโครงหลังคาไม้จึงไม่เป็นที่นิยมในปัจจุบันสำหรับอาคารและบ้านเรือนทั่วไป แต่ยังคงมีการใช้งานอยู่สำหรับบ้านไม้

2. โครงหลังคาเหล็ก เรียกได้ว่าเป็นที่นิยมอย่างมากในปัจจุบัน เนื่องจากเป็นวัสดุที่หาง่ายในท้องตลาด ผู้ใช้งานสามารถเลือกขนาด และรูปแบบได้หลากหลายตามความต้องการ นอกจากนี้เหล็กยังเป็นวัสดุที่ให้ความแข็งแรงและมีความคงรูป ทำให้หมดปัญหาเรื่องปลวกไปได้เลย

โดยปกติแล้วเหล็กสามารถถูกกัดกร่อนหรือเกิดสนิมได้ แต่ถ้าเป็นเหล็กที่ผ่านกรรมวิธีป้องกันสนิม อย่างการชุบสังกะสี หรือการเคลือบสีที่ได้มาตรฐานจะไม่ทำให้เกิดสนิม และช่วยยืดอายุการใช้งานได้ในระยะยาว


เมื่อทำความรู้จักโครงสร้างหลังคากันไปแล้ว จะมาพูดถึงส่วนประกอบพื้นฐานของโครงสร้างหลังคาทั้ง 2 ชนิดหลักๆ มีดังนี้

1.    ระแนง หรือ แป ไม้สี่เหลี่ยมจตุรัสที่วางอยู่บนจันทัน ทำหน้าที่รองรับน้ำหนักหลังคาประเภทต่างๆ โดยวางห่างกันตามขนาดของกระเบื้อง แล้ววางขนานกับแนวอกไก่

2.    จันทัน เป็นส่วนที่วางเอียงลาดไปตามลักษณะของหลังคา และเป็นโครงสร้างที่รองรับน้ำหนักจากแป  โดยจันทันจะวางพาดระหว่างอเส และ อกไก่ เพื่อรองรับแปสำหรับรับกระเบื้องมุงหลังคา โดยทั่วไปจันทันจะวางเป็นระยะทุกๆ 1 เมตร ส่วนระยะห่างจะขึ้นอยู่กับน้ำหนักของวัสดุมุงหลังคา และระยะแป

3.    อกไก่ เปรียบเหมือนคานอยู่บริเวณส่วนกลางของหลังคา (ทรงจั่ว หรือ ทรงปั้นหยา) วางพาดอยู่บนดั้งบริเวณสันหลังคา ทำหน้าที่แบกรับน้ำหนักจันทันตามแนวสันหลังคา และแบกรับน้ำหนักจากจันทันทุกตัวทั้ง 2 ด้าน

4.    ดั้ง โดยปกติอกไก่จะวางอยู่บนเสาของอาคาร หรือ แต่ถ้าตำแหน่งของอกไก่วางไม่ตรงกับเสาของอาคาร ก็ต้องมีเสาเสริมขึ้นมารองรับที่เรียกว่า “ดั้ง”ส่วนที่อยู่บริเวณแนวสันหลังคาในแนวตั้ง เพื่อคอยทำหน้าที่รองรับอกไก่ทดแทนเสาจริงของอาคาร

5.    ขื่อ หรือที่เรียกว่า สะพานรับดั้ง เป็นส่วนของโครงสร้างที่วางอยู่บนหัวเสาในทิศทางเดียวกับจันทัน ทำหน้าที่รับแรงดึงและยึดหัวเสาในแนวคาน แล้วถ่ายน้ำหนักลงสู่เสาและช่วยยึดโครงผนัง

หากอกไก่ไม่ได้วางอยู่ในตำแหน่งที่มีเสามารองรับ ต้องอาศัยดั้งเข้ามาแบกรับเพื่อถ่ายน้ำหนักต่อไปยังขื่อ ซึ่งขื่อก็จะทำหน้าที่ถ่ายน้ำหนักลงสู่เสาอาคารต่อไป


6.   อเส คือ ส่วนของหลังคาที่พาดอยู่บนหัวเสา มีลักษณะคล้ายคาน ทำหน้าที่ยึดปลายเสาตอนบนรวมทั้งช่วยรับแรงจากโครงหลังคาที่ถ่ายลงสู่เสา หรือเปรียบเสมือนคานที่รัดรอบตัวอาคาร และแบกรับน้ำหนักของจันทันแต่ละตัว

โดยทั่วไปอเสมักจะวางอยู่บริเวณริมด้านนอกของเสา ส่วนขนาดของอเสมักจะคำนวณตามความยาวของเสา และพื้นที่หลังคาที่รับน้ำหนัก

7.    เชิงชาย หรือทับเชิงชาย หรือทับปั้นลม หรือปิดกันนก และปั้นลม ไม้เชิงชาย เป็นไม้ที่ใช้ปิดปลายชายคาของจันทันทุกตัวที่ลาดเอียงตามแนวชายคา เพื่อความสวยงาม รวมทั้งปกป้องการผุเปื่อยของไม้ที่ปลายจันทันจากแสงแดด หรือฝน และป้องกันนกไม่ให้เข้ามาอยู่อาศัยใต้หลังคา


รับออกแบบบ้าน: โครงหลังคาของ โครงสร้างบ้าน มีอะไรบ้าง อ่านบทความเพิ่มเติมคลิ๊กที่นี่ https://luxuryhomesdesigns.com/

 

ลงประกาศฟรี ติดอันดับ Google โฆษณาฟรี ประกาศฟรี ขายฟรี ลงประกาศขายบ้าน ขายที่ดิน ขายคอนโด ขายรถยนต์ เครื่องใช้ไฟฟ้า สินค้าอุตสาหกรรม อาหารเสริม เครื่องสำอางค์ สถานที่ท่องเที่ยว ลงโฆษณาฟรี google