ถือเป็นกิจกรรมยามว่างที่ได้รับความนิยมมากที่สุดอย่างหนึ่งเลย กับการเล่นดนตรี เพราะไม่เพียงแต่จะช่วยให้จิตใจผ่อนคลายแล้ว ปัจจุบันทักษะการเล่นดนตรีก็ยังเป็นหนึ่งในทักษะที่สร้างอาชีพ สร้างรายได้เสริมได้อย่างเป็นกอบเป็นกำ ทำให้คนส่วนใหญ่ที่ชื่นชอบการเล่นดนตรีนั้นประสบปัญหาเสียงดนตรีจากภายในห้องดังทะลุออกไปรบกวนเพื่อนบ้านได้ ซึ่งหากปล่อยไว้ก็จะทำให้เกิดกรณีพิพาทที่ไม่รู้จบ
ดังนั้น การทำให้ห้องที่ใช้เล่นดนตรีในบ้านกันเสียงดังทะลุเข้าออกได้มากขึ้นนั้นจึงเป็นภารกิจอันดับต้น ๆ ที่ควรรีบทำให้เรียบร้อย โดยวิธีที่มีประสิทธิภาพและได้รับความนิยมมากที่สุดในปัจจุบันได้แก่ การเสริมผนังกันเสียงให้ห้องที่ใช้เล่นดนตรีนั้นกันเสียงดังได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้นนั่นเอง อย่างไรก็ตาม ก่อนที่จะตัดสินใจเสริมผนังกันเสียงในห้องที่ใช้เล่นดนตรีนั้น ก็มีเรื่องสำคัญหลายประกันที่ควรรู้เพื่อประกอบการพิจารณาตัดสินใจ ดังต่อไปนี้
1.แผ่นกันเสียงที่ใช้เสริมผนังกันเสียงมีคุณภาพไม่เท่ากัน
เวลาที่เราพูดถึงการเสริมผนังกันเสียงนั้น หัวใจสำคัญของกระบวนการติดตั้งทั้งหมดจะขึ้นอยู่กับ “แผ่นกันเสียง” หรือวัสดุอะคูสติกที่นำมาใช้ โดยในตลาดแผ่นอะคูสติกนั้นจะมีแผ่นกันเสียงหลากหลายให้เลือกใช้ แตกต่างกันไปตามวัสดุที่ใช้ในการผลิต ซึ่งก็จะทำให้แผ่นกันเสียงแต่ละชนิดมีประสิทธิภาพในการกันเสียงที่ไม่เท่ากัน บ้างก็กันเสียงดังได้ดี บ้างก็ไม่ดีอย่างที่คิด
ดังนั้น ในการเลือกวัสดุอะคูสติกที่จะนำมาใช้ในการทำผนังกันเสียงนั้น เราจึงต้องศึกษา เปรียบเทียบ ความสามารถในการกันเสียงของวัสดุนั้น ๆ ให้ละเอียดรอบคอบ เพื่อให้มั่นใจได้ว่าจะสามารถได้ผนังกันเสียงที่กันเสียงดนตรีจากภายในห้องเราไม่ให้ทะลุออกไปยังนอกห้องได้จริง ๆ ยกตัวอย่างเช่น แผ่นกันเสียงที่ใช้กับระบบผนังกันเสียงที่มีความสามารถในการกันเสียงสูงมาก เทียบได้กับความสามารถในการกันเสียงของผนังโรงแรม 5 ดาวเลยทีเดียว
2.การเสริมผนังกันเสียงคือการทำผนังเบาอีกชั้นทับผนังเดิม
หลายคนยังคงเข้าใจผิดมักคิดว่าการเสริมผนังกันเสียงคือการเอาแผ่นกันเสียงมาติดทับกับผนังเดิมไปเลยง่าย ๆ แต่ในความเป็นจริงมีขั้นตอนที่เพิ่มขึ้นมากกว่านั้น คือ จะเป็นการทำผนังเบาขึ้นทับผนังเดิมอีกชั้นหนึ่ง ซึ่งจะต้องมีการวางโครงคร่าวผนังเบาแล้วแทรกด้วยแผ่นกันเสียงก่อนจะปิดผิวทำผนังใหม่ทับไป หมายความว่าจะทำให้ผนังเดิมหน้าขึ้นเป็น 2 ชั้น และสามารถกันเสียงดังทะลุเข้าออกได้ดีมากขึ้น ดังนั้น ก่อนพิจารณาเสริมผนังกันเสียงจึงต้องเข้าใจให้ดีว่าผนังเดิมจะหนาขึ้น ถ้าเป็นห้องขนาดเล็กอยู่แล้วก็อาจจะทำให้รู้สึกอัดอัด และเสียพื้นที่ใช้สอยไปได้
อย่างไรก็ตาม ก็สามารถแก้ไขปัญหานี้ได้ด้วยการพิจารณาเลือกใช้ระบบผนังกันเสียงที่กันเสียงได้ดีแต่ไม่ได้ทำให้ผนังหนาขึ้นมากจนห้องคับแคบ เช่น ระบบผนังเบากันเสียง ที่มีความหนาเพียงแค่ 9.8 เซนติเมตรเท่านั้น ซึ่งถือว่าบางกว่าการทำผนังก่ออิฐฉาบปูน 2 ชั้นมาก เพราะการทำผนังก่ออิฐฉาบปูน 2 ชั้นนั้นจะทำให้ผนังหนาขึ้นถึงเกือบ 20 เซนติเมตรเลยทีเดียว ที่สำคัญคือ การทำผนังก่ออิฐฉาบปูน 2 ชั้นนั้น กันเสียงได้ได้ต่ำกว่าระบบผนังเบาประมาณเกือบ 2 เท่า เนื่องจากไม่ได้มีการแทรกวัสดุอะคูสติกเพิ่มเติมนั่นเอง
3.แผ่นซับเสียงที่ติดผนังได้เลยไม่ได้ช่วยกันเสียงดัง
ที่หลายคนเข้าใจผิดว่าการเสริมผนังกันเสียงนั้นทำง่าย ๆ ด้วยการติดแผ่นกันเสียงทับไปเลยบริเวณผนังเดิม จริง ๆ แล้วมีความเข้าใจผิดอีกอย่างซ่อนอยู่ในความเชื่อนี้ด้วย นั่นก็คือ แผ่นที่ใช้ติดไปกับผนังเดิมเลยที่หลาย ๆ คนเข้าใจว่าช่วยกันเสียงได้นั้น จริง ๆ แล้วไม่ใช่แผ่นกันเสียง แต่เป็น “แผ่นซับเสียง” ซึ่งถือเป็นวัสดุอะคูสติกเช่นกัน แต่ไม่ได้มีคุณสมบัติในการกันเสียง แต่จะช่วยในการซับเสียง หรือควบคุมป้องกันเสียงก้องเสียงสะท้อน
ซึ่งถามว่าสำคัญกับการทำห้องดนตรีหรือไม่ ก็ต้องตอบว่า สำคัญเช่นกัน เพราะหากเราต้องการให้ห้องที่ทำกันเสียงนั้น ใช้เล่นซ้อมดนตรีได้อย่างมีประสิทธิภพสูงสุดล่ะก็ นอกจากเสริมระบบผนังกันเสียงแล้ว ก็ควรวางแผนติดตั้งแผ่นซับเสียงเพื่อทำให้เสียงในห้องไม่ก้องสะท้อน และเกิดเป็นเสียงดนตรีอันไพเราะขึ้นได้นั่นเอง
4.อย่าลืมเรื่องความแข็งแรงของผนังกันเสียงที่ต้อง Built In ได้
ก่อนเสริมระบบผนังกันเสียงจำเป็นจะต้องรื้อเฟอร์นิเจอร์ที่ Built In ติดกับผนังออกทั้งหมด เพราะเราจะต้องวางโครงคร่าวทำผนังเบาให้เรียบร้อย ดังนั้น เมื่อปิดผนังเบาเสร็จแล้ว เฟอร์นิเจอร์ต่าง ๆ ก็ควรกลับไป Built In ติดผนังได้ตามเติม ซึ่งตรงจุดนี้จำเป็นอย่างมากที่จะต้องเลือกใช้ระบบผนังกันเสียงที่มีความแข็งแรง เพราะโดยมากแล้วผนังเบาจะไม่ได้แข็งแรงมากนัก อาจทำให้ไม่สามารถรองรับเฟอร์นิเจอร์แขวนผนังได้ดีเท่าที่ควร โดยระบบผนังเบากันเสียงที่ได้รับความนิยมและไว้ใจในเรื่องความแข็งแกร่งนั้น ก็เช่น ระบบผนังเบากันเสียง
เพราะผ่านการทดสอบมาตรฐานความแข็งแรงจากประเทศอังกฤษ BS5234: Part2-1992 จัดอยู่ในระบบผนังเกรด Severe Duty หรือระดับสูงสุด ที่สามารถรองรับการแขวนของน้ำหนักได้สูงสุดถึง 100 กิโลกรัมต่อจุด จึงมั่นใจได้ว่าหลังจากเสริมระบบผนังเบากันเสียงไปแล้ว จะสามารถ Buit In เฟอร์นิเจอร์ได้ดั่งใจตามต้องการแบบปลอดภัยไร้กังวล
5.แม้เสริมผนังกันเสียงแล้วก็อาจยังกันเสียงได้ไม่ 100%
การที่เสียงดังจากภายในห้องทะลุออกไปข้างนอกรบกวนเพื่อนบ้าน หรือการที่เสียงดังจากภายนอกดังเข้ามารบกวนภายในห้องเรานั้น ไม่ได้มีสาเหตุมาจากแค่โครงสร้างผนังไม่กันเสียงมากพอเท่านั้น แต่เสียงดังยังทะลุผ่านช่องทางอื่น ๆ ได้อีกหลากหลาย เช่น ฝ้าเพดาน ประตู หน้าต่าง รูปลั๊กไฟต่าง ๆ ฯลฯ
ดังนั้น แม้เราจะเสริมผนังกันเสียงอย่างมีประสิทธิภาพแล้ว ก็อาจเป็นไปได้ว่าจะไม่ได้เก็บเสียงได้ 100% โดยยังคงมีเสียงเล็ดรอดทะลุเข้าออกได้อยู่ ซึ่งก็ต้องไปพิจารณาดูว่าเสียงดังเหล่านั้นทะลุผ่านมาจากทางไหนและหาทางป้องกันเพิ่มเติม แต่เมื่อเสริมผนังกันเสียงแล้ว เสียงดังที่เคยเป็นปัญหานั้น จะลดระดับความดังลงได้อย่างมากอย่างเห็นได้ชัดเจน ซึ่งจะเบาลงได้มากเท่าไร ก็ขึ้นอยู่กับว่าเราเลือกใช้ผลิตภัณฑ์วัสดุกันเสียงที่มีคุณภาพมากแค่ไหนนั่นเอง
การวางแผนเสริมระบบผนังกันเสียงให้กับห้องในบ้านที่ใช้สำหรับฝึกซ้อมเล่นดนตรีนั้น ถือว่าเป็นการลงทุนที่คุ้มค่า เพราะยิงปืนนัดเดียวได้นกหลายตัวมาก อาทิ ช่วยลดปัญหาทะเลาะเบาะแว้งกับเพื่อนบ้านได้ ไม่ให้เสียงเพลงเสียงดนตรีห้องเราไปรบกวนเขา ช่วยป้องกันเสียงดังจากภายนอกไม่ให้เข้ามากวนเราในการฝึกซ้อมเล่นดนตรี ช่วยทำให้ห้องดนตรีนี้เป็นห้องเก็บเสียงที่ใช้ทำงาน ทำกิจกรรมอื่น ๆ ได้โดยไม่ถูกเสียงรบกวน ซึ่งถ้าเป็นห้องนอนด้วยแล้ว ก็จะทำให้เวลานอนของเราไม่ถูกเสียงดังรบกวน สามารถทำให้นอนหลับสนิทได้มากขึ้น ซึ่งส่งผลดีต่อทั้งสุขภาพกายและใจ
ฉนวนกันเสียง:เล่นดนตรีในห้องเสียงดัง ต้องรู้อะไรบ้างก่อนเสริมผนังกันเสียง อ่านบทความเพิ่มเติมคลิ๊กที่นี่ https://noisecontrol365.com/